วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บุคคลตัวิย่างเศรษฐกิจพอเพียง

ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2554 สาขา ปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง นายจันทร์ที ประทุมภา อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา อาชีพ เกษตรกรรม อายุ 73 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 138 บ้านโนนรัง ม.6 ต.ตลาดไทร อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา ผลงานดีเด่น 1. เป็นบุคคลที่นำความรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่มาปรับใช้กับตนเองจนประสบความสำเร็จแล้ว และยังสามารถถ่ายทอดความรู้ และขยายผลให้แก่ชาวบ้านจนประสบความสำเร็จด้วย 2. แปลงเกษตรแบบประณีตในพื้นที่ 1 ไร่ ประวัติ นายจันทร์ที ประทุมภา เป็นเกษตรกรที่ดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นระยะเวลา 52 ปี และสามารถเป็นแบบอย่างให้กับผู้อื่นได้ จากที่เคยประสบภาวะวิกฤตชีวิต มีหนี้สินจำนวนมาก ต้องขายทรัพย์สินที่มีและนำที่ดินไปจำนอง กระทั่งต้องไปทำงานรับจ้างที่ประเทศมาเลเซีย แต่ด้วยความวิริยะอุตสาหะ ทำงานหนักและอดออม ภายในระยะเวลา 1 ปี จึงเหลือเงินกลับมาจนสามารถใช้หนี้และไถ่ถอนที่ดินคืนมาได้ แล้วจึงเริ่มต้นวิถีเกษตรผสมผสานตั้งแต่ปี 2534 ด้วยทุนที่มีเหลืออยู่กับตัว คือ สองมือและอุปกรณ์ข้างกาย ได้แก่ จอบและบุ้งกี๋ ขุดสระน้ำด้วยแรงงานที่มีในครัวเรือน จำนวน 4 คน ใช้เวลา 3 เดือน จึงเริ่มเก็บกักน้ำได้ ดำรงตนอย่างสมถะ สร้างอาหารไว้กินเองในครอบครัว และใช้แรงงานภายในครอบครัว 6 คน ไม่มีการจ้างแรงงานภายนอก ในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่นั้น นายจันทร์ที มีการแบ่งพื้นที่การใช้สอยให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่ จำนวน 22 ไร่ มีการบริหารจัดการ โดยแบ่งเป็นพื้นที่นาข้าว 10 ไร่ พื้นที่ทำเกษตรทฤษฎีใหม่ 10 ไร่ เป็นที่อยู่อาศัย 2 ไร่ และมีสระน้ำรวมกว่า 10 สระ พร้อมกับการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย พืชผัก พืชสมุนไพร เพื่อให้เกิดการพึ่งพาอาศัยกันเหมือนต้นไม้ในป่าธรรมชาติเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน อันเป็นระบบนิเวศน์ที่สมดุล มีการเลี้ยงหมู เป็ด ไก่ ปลา และปลูกผักทุกชนิดที่ตนเองเคยซื้อกิน เพื่อลดรายจ่าย ขณะเดียวกันสามารถนำผักที่ปลูกไปจำหน่ายในตลาดได้ ทำให้มีรายได้ทุกวันจากการขายผัก ส่วนรายได้หลักต่อเดือนได้จากการขายปลาและสัตว์ที่เลี้ยง สำหรับรายปีก็มีรายได้อีกจากการขายผลผลิตของไม้ยืนต้นประเภทให้ผล ขณะเดียวกันก็จะแปรรูปผลผลิตในครัวเรือน อาทิ จากกล้วย น้ำเสาวรส น้ำมะพร้าว พันธุ์พืชทุกชนิดที่ปลูกจะขยายพันธุ์ด้วยตนเองโดยไม่ซื้อมาจากแหล่งอื่น นายจันทร์ที ได้เริ่มดำเนินการเกษตรทฤษฎีใหม่โดยการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาตั้งแต่ปี 2540 – 2541 โดยทราบจากสำนักงาน กปร. และสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด จึงได้ศึกษาว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างไร ก็ได้รับทราบว่า ต้องพยายามลดรายจ่ายในครอบครัวให้มากที่สุด เมื่อศึกษาแล้วจึงทราบว่าจริงๆ แล้วค่าใช้จ่ายประจำวัน คือ อาหารที่ต้องกินต้องใช้ แล้วมาคิดต่ออีกว่าอาหารที่ต้องซื้อเขากินมีอะไรบ้าง จึงมาเริ่มคุยกันในครอบครัวว่าเราต้องปลูกทุกสิ่งทุกอย่างที่เราซื้อกินทุกวัน ดังนั้นทุกอย่างที่เคยซื้อจะต้องปลูกเองทั้งหมด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จากที่วันหนึ่งเคยซื้อ 20 – 30 บาท ก็ไม่ต้องซื้อ และยังมีเงินไว้เก็บออมอีกด้วย พื้นที่ทั้งหมดของนายจันทร์ที จะปลูกตั้งแต่พืชผักสวนครัว ทุกสิ่งทุกอย่างที่กินและขายได้ นอกจากพืชผักสวนครัวแล้ว ยังมีไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้เศรษฐกิจ ซึ่งที่ปลูกแล้วได้ผลดี และมีพืชที่เป็นที่สนใจของคนทั่วไป คือ ผักหวานป่า เพราะราคาดี และมีคนสนใจมาก ราคากิโลกรัมละ 200 บาท รวมไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้เศรษฐกิจทั้งหมดก็ทำให้มีรายได้ประมาณหมื่นกว่าบาทต่อเดือน หลายๆ คนบอกว่าปลูกป่าไม่ได้ เพราะไม่มีหัวไร่ปลายนา แต่ท่านก็ทำเป็นตัวอย่างโดยใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์อย่างที่สุด คือ ปรับคันคูให้ใหญ่แล้วปลูกพืชสวนครัว ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้เศรษฐกิจ หลากหลาย ต้องสร้างสิ่งแวดล้อมขึ้นมา สร้างป่าขึ้นมา เพื่อเป็นบำนาญชีวิตให้กับลูกกับหลาน เป็นการฝากเงินไว้กับต้นไม้ ฝากเงินไว้กับดิน ลองคิดดูว่าต้นไม้ต้นหนึ่งปีแรกลงทุนไม่ถึง 10 บาท เมื่อผ่านไป 30 ปี แปรรูปต้นเพิ่มมูลค่าเป็นเงินได้หมื่นกว่าบาท คุ้มค่ามาก หลังจากได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้แล้วประสบผลสำเร็จ ทำให้ที่บ้านจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดความรู้เรื่องทฤษฎีใหม่ของพระองค์ ซึ่งขณะนี้เปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ ที่ใช้อบรมให้กับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้หนึ่งในจำนวน 151 ศูนย์การเรียนรู้ทั่วประเทศ ผู้ที่เข้าอบรมคือเกษตรกรที่สนใจในเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ มาอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนแนวความคิด เปลี่ยนจิตสำนึก ให้รู้จักพึ่งตนเองและพึ่งพากันเองในชุมชนได้ ถ้าเกษตรกรอยากจะลดรายจ่ายในการทำเกษตร ก็ต้องให้ความรู้ในด้านต่างๆ เช่น การขยายพันธุ์พืช เพาะเมล็ด ติดตา ทาบกิ่ง เสียบยอด การขยายเพาะพันธุ์ปลาเลี้ยงเอง และสอนวิธีทำหัวอาหารเลี้ยงปลา ซึ่งจะเป็นการประหยัดและลดรายจ่ายได้เป็นอย่างมาก วัตถุดิบที่ทำหัวอาหารปลาก็มาจากการเกษตรทั้งนั้น เช่น ถั่ว มัน ข้าวโพด ทุกอย่างที่เกษตรกรทำ และอีกส่วนหนึ่งคือสอนการทำปุ๋ยชีวภาพ และทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการเกษตร หรือเกี่ยวกับการลดรายจ่าย และจากการทำงานเพื่อสังคมที่ถ่ายทอดจากประสบการณ์จริงที่ได้สั่งสมมานั้น ทำให้นายจันทร์ทีได้รับการยอมรับให้เป็นปราชญ์อีสานที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้สนใจทั่วไปและในปีหนึ่ง มีผู้เข้ามาเรียนรู้และชื่นชมผลงานของนายจันทร์ที ไม่ต่ำกว่า 2-3 พันคน จากความมุ่งมั่นและจริงใจในการให้ความรู้ เนื่องจากนายจันทร์ทีคิดว่า การที่รู้แล้วไม่ควรเก็บไว้เพียงผู้เดียว ควรถ่ายทอดสิ่งดี ๆ ให้กับชุมชน เพราะคิดว่าตนเองเคยตกทุกข์ได้ยากมา จึงรู้ว่าถ้าเราทำอย่างถูกต้องจะทำให้สำเร็จ ดังนั้นจึงต้องขยายความรู้ให้กับคนอื่นและชุมชนต่อไป  วิ่งตามเงินเดินเข้ากองไฟ วิ่งตามธรรมะเย็นฉ่ำชื่นใจ” ปรัชญาชีวิตที่พ่อ จันทร์ที ประทุมภา เกษตรกรแห่งบ้านโนนรัง เลขที่ 138 หมู่ 6 ต. ตลาดไทร อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา ยึดเป็นคติประจำชีวิต จนสามารถผ่านวิกฤติ หนี้สิน และมีชีวิตอยู่ในสังคมนี้ได้อย่างสง่าผ่าเผย นาย จันทร์ที ประทุมภา เกษตรกรบ้านโนนรัง ตำบลตลาดไทร อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่ได้ดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเป็นแนวทางการดำเนิน ชีวิตแก่ชาวไทยทุกหมู่เหล่า โดยการดำเนินทางสายกลางในการดำรงชีวิตที่เหมาะสมกับสถาน การณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นปราชญ์ชาวบ้านประจำจังหวัดนครราชสีมา และเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศด้านเกษตร ทฤษฎีใหม่จากการประกวดผลงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงครั้งที่ 1 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ (สำนักงาน กปร.) …….. ในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่นั้น นายจันทร์ที มีการแบ่งพื้นที่การใช้สอยให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่ จำนวน 22 ไร่ มีสระน้ำรวมกว่า 10 สระ พร้อมกับการปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผล ไม้ใช้สอย พืชผัก พืชสมุนไพร เพื่อ ให้เกิดการพึ่งพาอาศัยกันเหมือนต้นไม้ในป่าธรรมชาติเป็นการเพิ่มความอุดม สมบูรณ์ให้ดิน อันเป็นระบบนิเวศที่สมดุล มีการเลี้ยงหมู เป็ด ไก่ ปลา และปลูกผักทุกชนิดที่ตนเองเคยซื้อ กิน เพื่อลดรายจ่าย ขณะเดียวกันสามารถนำผักที่ปลูกไปจำหน่ายในตลาดข้างบ้านได้ ทำให้มีรายได้ทุกวันจากการขายผัก ส่วนรายได้หลักต่อเดือนได้จากการขายปลาและสัตว์ที่เลี้ยง สำหรับรายปีก็ มี รายได้อีกจากการขายผลผลิตของไม้ยืนต้นประเภทให้ผล ขณะเดียวกันก็จะแปรรูปผลผลิตในครัวเรือน อาทิ จากกล้วย น้ำเสาวรส น้ำมะพร้าว พันธุ์พืชทุกชนิดที่ปลูกจะขยายพันธุ์ด้วยตนเองไม่ซื้อมาจากแหล่งอื่น  นายจันทร์ทีได้เล่าให้ฟังถึงการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของตนว่า เริ่มรู้เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ประมาณปี 2540-2541 โดย รู้จากสำนักงาน กปร. และสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด นครราชสีมา จึงได้ศึกษาให้ชัดเจนว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างไร ก็รู้ว่าเราต้องพยายามลดรายจ่ายในครอบครัวให้มากที่สุด เมื่อศึกษาแล้วจึง รู้ ว่าจริง ๆ แล้วค่าใช้จ่ายประจำวันของเราก็คือ อาหารที่ต้องกิน ต้องใช้โดยซื้อผัก ซื้อปลาต่าง ๆ แล้วก็มาคิดต่ออีกว่าอาหารที่เราซื้อเขากินนี่ เรา ทำได้หรือเปล่า ก็มาคุยกันในครอบครัวว่า เรา ต้อง ปลูกทุกสิ่งทุกอย่างที่เราซื้อกินทุกวัน ฉะนั้นทุกอย่างที่เราเคยซื้อเราต้องปลูกเองหมดเลย ก็เลยเกิดความแตกต่าง พอทำตรงนี้ วันหนึ่งที่เคยซื้อ 20-30 บาท ก็ไม่ต้องซื้อ เงินก็ได้เก็บได้ออม ปลูก ตั้งแต่พืชผักสวนครัว ทุกสิ่งทุก อย่างที่กินและที่ขายได้ นอกจากพืชผักสวนครัวแล้วมีไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้เศรษฐกิจ ซึ่งที่ปลูกแล้วได้ผลดี และเป็นที่สนใจของคนทั่วไป คือ ผักหวานป่า ราคาดี และมีคนสนใจมาก ราคากิโลกรัมละ 200 บาท รวมไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้เศรษฐกิจทั้งหมดก็มีรายได้หมื่นกว่าบาทต่อเดือน มีหลาย ๆ คนบอกว่าปลูกป่าไม่ได้ เพราะไม่มี หัวไร่ปลายนา แต่ก็ทำเป็นตัวอย่างโดยใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์อย่างที่สุด ปรับคันคูให้ใหญ่แล้ว ปลูก พืชสวนครัว ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้เศรษฐกิจ หลากหลาย ต้องสร้างสิ่งแวดล้อมขึ้นมา สร้างป่าขึ้นมา เพื่อเป็นบำนาญชีวิตให้กับลูกกับหลาน เป็นการฝากเงินไว้กับต้นไม้ ฝากเงินไว้กับดิน ต้นไม้ต้นหนึ่งปีแรกลงทุนไม่ถึง 10 บาท เมื่อผ่านไป 30 ปี แปรรูปต้นไม้เพิ่มมูลค่าเป็นเงินได้หมื่นกว่าบาท คุ้มค่ามาก แต่ ก่อนผมเคยทุกข์ยากลำบากแต่เดี๋ยวนี้หายทุกข์หายจนแล้ว ก็เลยอยากจะขยายผล แต่ก่อนผมเคยวิ่งหาเงิน แต่ตอนนี้หลังจากที่ผมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านมาใช้แล้ว มีแต่เงินที่เข้ามาหาผม แต่ก่อนผม เคยไปหานาย ตอนนี้นายมาหาผม ก็เลยรู้สึกดีใจตรงนี้ ทุกวันนี้ผมมีความสุข ครอบครัวผมเคยแตกแยก แต่เดี๋ยวนี้กลับเป็นครอบครัวที่อบอุ่น กว่าจะถึงตรงนี้ ผมคิดว่าดีมาก ๆ เกษตรกรไม่ควรคิดที่จะพึ่งพาภายนอกมากเกินไป ขอให้เดินตามรอยพ่อหลวง รับรองว่าประสบความสำเร็จแน่นอน? นายจันทร์ที กล่าว. นายจันทร์ที ประทุมภา ที่อยู่ 138 หมู่ที่ 6 บ้านโนนรัง ตำบลตลาดไทร อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์ 089-948-4737 แนะนำปราชญ์เกษตร อดีตช่างซ่อมรถยนต์ มีรายได้ 500 บาทต่อเดือน สามารถตั้งโรงสีเล็ก รวมทั้งเลี้ยงหมูแม่พันธุ์กว่า 80 ตัว จนมีฐานะอยู่ในระดับปานกลาง แต่ด้วยความโลภอยากรวยทางลัด มีคนมาชักชวนให้เป็นนายหน้าหาคนไปทำงานต่างประเทศ แต่กลับถูกโกงเงินไปหมดจำนวนกว่า 200,000 บาท ได้กำลังใจจากภรรยา จึงได้สติคืนมา แม้จะถูกขู่ ถูกต่อว่าแต่ด้วยความซื่อสัตย์ จึงประกาศขายโรงสี หมู 80 ตัว และนำที่นา 22 ไร่ไปจำนอง แต่เงินที่ได้ยังไม่พอใช้หนี้ จึงไปกู้เงินนายทุนเสียดอกเบี้ยวันละ 114 บาท เพื่อนพ่อจันทร์ทีซึ่งเป็นหัวหน้าคนงานก่อสร้างทราบข่าวจึงให้ความช่วยเหลือโดยการให้ไปทำงานรับเหมาสร้างโรงเรียนที่ประเทศมาเลเซีย ทำงานเก็บเงิน 1 ปี กลับมาพร้อมเงินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท จึงนำเงินไปไถ่ที่นาคืนส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งนำไปใช้หนี้ที่ต้องเสียดอกเบี้ยสูงก่อน จากนั้นเริ่มทำนาข้าว แต่ก็ไม่มีเงินเหลือ กระทั่งได้ดูโทรทัศน์ซึ่งเป็นการทำเกษตรผสมผสานแบบพึ่งตนเองของพ่อผาย สร้อยสระกลาง จึงชวนครอบครัวไปเรียนรู้จากพ่อผาย กลับมาเริ่มทำเกษตรผสมผสานในที่ดินของตน พบข้อสรุปว่าจะพึ่งตนเองได้ต้องออมน้ำก่อนเพราะต้นไม้ ปู ปลา อยู่ได้เพราะน้ำ แม้จะไม่มีเงินจ้างรถแบ็คโฮ มาขุดสระก็ไม่ใช่อุปสรรคแต่ประการใด โดยในช่วงนั้นทุก ๆ คืน คนในครอบครัวช่วยกันขุดสระน้ำ จนกระทั่ง 2 เดือนผ่านไปสามารถขุดสระน้ำขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 20 เมตร ลึก 3 เมตร จึงขยายพื้นที่ปลูกผักออกไป 2 งาน ทำให้ได้ผลผลิตพอกินตลอดปี เมื่อเหลือกินจึงเก็บขายในหมู่บ้านเพื่อเพิ่มรายได้ครอบครัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น